The Canopy Project

เดอะ คาโนปี้ โปรเจกต์

ร่มไม้ของโลกศิลปะไทยร่วมสมัย

ฐานข้อมูลและการสำรวจประวัติศาสตร์นิทรรศการกลุ่มในศิลปะไทยร่วมสมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2513 - 2565

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด: ตุลาคม 2565

เดอะ คาโนปี้ โปรเจกต์

นำเสนอข้อมูลนิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัย ซึ่งมีศิลปินและภัณฑารักษ์ไทยเข้าร่วมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยใช้ฐานข้อมูลจากงานวิจัย* ผ่านการรวบรวมและศึกษาข้อมูลนิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 - 2565 จำนวนทั้งสิ้น 857 นิทรรศการ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงระบบนิเวศของโลกศิลปะไทยร่วมสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา

*งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการศิลปะร่วมสมัยและการมีส่วนร่วมของสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 จนถึงต้นทศวรรษ 2000 โดย ชุดโครงการวิจัยศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสังคมเนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 250 ปี

งานแสดงศิลปะร่วมสมัยแบบกลุ่ม

ในที่นี้หมายถึง นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยในรูปแบบนิทรรศการกลุ่มหรือนิทรรศการที่มีศิลปินเข้าร่วมมากกว่า 2 คนขึ้นไป รวมถึงเทศกาลศิลปะที่จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นิทรรศการกลุ่มมีความสำคัญในฐานะที่เป็นพื้นที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะร่วมสมัยกับสังคม, การเมือง, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม, และสภาพแวดล้อม

สัญญะของ "คาโนปี้"

คาโนปี้ หรือชั้นเรือนยอดไม้ ถือว่าเป็นโครงสร้างสำคัญของป่าดิบชื้น ด้านบนเป็นป่าที่มีเรือนยอดสูงและมีพื้นป่าที่ทึบรก คาโนปี้หรือชั้นเรือนยอดไม้ที่มีความหนาแน่นนี้ช่วยในการรักษาความชื้น แต่ก็มีช่องว่างให้แสงลอดผ่าน เพื่อหล่อเลี้ยงพืชพันธ์ุและสิ่งมีชีวิตเบื้องล่าง เปรียบได้กับโลกของศิลปะไทยร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดทำนิทรรศการกลุ่ม ซึ่งมีโครงสร้างและเกี่ยวพันกับผู้คนหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน, ภัณฑารักษ์, พื้นที่ทางศิลปะ, ผู้จัด, และผู้สนับสนุน ทั้งหมดนี้ต่างอยู่ในระบบนิเวศที่ทั้งเกื้อหนุนและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

สำรวจ เดอะ คาโนปี้ โปรเจกต์

พื้นป่าศิลปะไทยร่วมสมัย (เวลาและพื้นที่ทางศิลปะ)

สำรวจฐานข้อมูลนิทรรศการกลุ่มในศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยผ่านพื้นที่ทางศิลปะและช่วงเวลา

สำรวจ

right arrow
ร่มไม้ศิลปะไทยร่วมสมัย (คลังนิทรรศการกลุ่ม)

สำรวจกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการกลุ่ม ได้แก่ พื้นที่ทางศิลปะ, ศิลปิน, ภัณฑารักษ์, ผู้จัด, ผู้สนับสนุน, และบริบท ผ่านคำสำคัญ

สำรวจ

right arrow
ใต้เรือนยอดศิลปะไทยร่วมสมัย (บทวิเคราะห์)

ทำความเข้าใจโลกศิลปะไทยผ่านการวิเคราะห์ฐานข้อมูลนิทรรศการกลุ่ม

อ่าน

right arrow

ภาพรวมของ เดอะ คาโนปี้ โปรเจกต์

ประเภทของนิทรรศการกลุ่มใน เดอะ คาโนปี้ โปรเจกต์

นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยแบบกลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นิทรรศการกลุ่มศิลปะร่วมสมัยและเทศกาลศิลปะร่วมสมัย โดยจำแนกตามวัตถุประสงค์ ช่วงเวลา และพื้นที่
นิทรรศการกลุ่มศิลปะร่วมสมัย

คือ นิทรรศการศิลปะที่มีศิลปินร่วมแสดงผลงานศิลปะตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และจัดขึ้นในพื้นที่ทางศิลปะที่ชัดเจน

เทศกาลศิลปะร่วมสมัย

มักจัดแสดงในพื้นที่ทางศิลปะหลายแห่ง จัดกิจกรรมทางศิลปะได้หลากหลายรูปแบบโดยศิลปินจำนวนมากจากทั่วโลก และมีภัณฑารักษ์ร่วมคัดสรรผลงาน โดยทั่วไปเทศกาลศิลปะร่วมสมัยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก คือ

1. เบียนนาเล่ (Biennale) คือ เทศกาลศิลปะที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี

2. เทรียนนาเล่ (Triennale) คือ เทศกาลศิลปะที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี

3. ด็อกคูเมนทา (Documenta) คือ เทศกาลศิลปะที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 5 ปี

ลักษณะของนิทรรศการกลุ่มในพื้นที่ทางศิลปะต่างๆ

เดอะ คาโนปี้ โปรเจกต์ คัดสรรนิทรรศการกลุ่มศิลปะร่วมสมัยจำนวน 857 นิทรรศการ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2517-2565 โดยแบ่งประเภทของนิทรรศการกลุ่มในโลกศิลปะไทยร่วมสมัย ออกเป็น 4 ประเภท
นิทรรศการกลุ่มศิลปะร่วมสมัย
นิทรรศการกลุ่มในประเทศไทย
นิทรรศการกลุ่มในต่างประเทศ

เทศกาลศิลปะร่วมสมัย
เทศกาลศิลปะในประเทศไทย
เทศกาลศิลปะในต่างประเทศ

ตัวอย่างนิทรรศการกลุ่มในประเทศไทย

การแสดงศิลปกรรมของ 3 ศิลปินหญิง พ.ศ. 2527

ตัวอย่างนิทรรศการกลุ่มในต่างประเทศ

Under Construction: New Dimensions of Asian Art ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2546

ตัวอย่างเทศกาลศิลปะในประเทศไทย

มหกรรมศิลป พีระศรี พ.ศ. 2527

ตัวอย่างเทศกาลศิลปะในต่างประเทศ

Busan Biennale 2008 ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ. 2551

พื้นป่าศิลปะไทยร่วมสมัย (เวลาและพื้นที่ทางศิลปะ)

หน้าสำรวจพื้นป่าศิลปะไทยร่วมสมัยแสดงฐานข้อมูลในมิติเวลาและพื้นที่ทางศิลปะให้คุณได้สำรวจข้อมูลด้วยตนเอง

สำรวจตามเส้นเวลา

ในพื้นป่าโลกศิลปะยังสามารถเลือกสำรวจข้อมูลตามช่วงเวลาที่ต้องการ โดยแบ่งเป็นการสำรวจรายปี และรายทศวรรษ เมื่อเลือกสำรวจตามช่วงเวลาที่ต้องการ จะนำเสนอข้อมูลนิทรรศการกลุ่มตามช่วงเวลา พร้อมลำดับเหตุการณ์สำคัญ และคำสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในช่วงเวลานั้น ตัวอย่างการสำรวจพื้นป่าโลกศิลปะ: พ.ศ. 2536

สำรวจตามพื้นที่ทางศิลปะ

คุณสามารถสำรวจพื้นที่ทางศิลปะเพิ่มเติมตามชื่อ โดยเลือกเรียงลำดับตามจำนวนนิทรรศการหรือลำดับตัวอักษร ตัวอย่างการสำรวจพื้นที่ทางศิลปะ: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

Supported by